วันอังคารที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2555

ประพันธสรรพนาม คือ สรรพนามที่ใช้แทนนามหรือสรรพนามที่อยู่ข้างหน้าและทำหน้าที่เชื่อมประโยค ได้แก่ คำว่า ที่ ซึ่ง อัน ตำแหน่งของคำสรรพนามนี้จะเรียงชิดติดอยู่กับคำนามหรือสรรพนามเสมอ เช่น
 
 
 
 
 
ฉันเกลียดหมูที่มีมัน
นักเรียนซึ่งขยันเรียนสอบได้ที่ 1
เพชรอันมีรอยร้าวย่อมมีค่า


สรรพนามใช้เน้นความรู้สึกของผู้พูด จะเรียงไว้หลังคำนามเพื่อเน้นความรู้สึกต่างๆ ของผู้พูด ความรู้สึกยกย่อง คุ้นเคย ดูหมิ่น หรือความรู้สึกอย่างใดก็ได้ เช่น
 
 
 
 
 
นี่! เจ้าเหมียวแกจะซนไปถึงไหน
พุทโธ! ใครจะไปโทษเด็กมันได้ลงคอ
อาจารย์ท่านเมตตาต่อลูกศิษย์เสมอต้นเสมอปลาย


 


 
  1. บุรุษสรรพนามอาจเป็นได้หลายบุรุษ ขึ้นอยู่กับหน้าที่ของคำเป็นสำคัญ เช่น
    • เราจะทำงานบ้าน (เป็นบุรุษที่ 1)
    • เราน่ะ ทำงานบ้านเสร็จแล้วหรือ (เป็นบุรุษที่ 2)
    • วันนี้เขาเหนื่อย เขาขอหยุดพักหนึ่งวันนะ (เป็นบุรุษที่ 1)
  2. วิภาคสรรพนาม คำว่า ต่าง บ้าง กัน นั้นต้องใช้แทนนาม หรือสรรพนาม ถ้าทำหน้าที่ขยายคำนาม คำสรรพนาม กริยา วิเศษณ์ จัดเป็นคำวิเศษณ์ เช่น
    • ชายบ้างหญิงบ้าง
    • เรียนบ้างเล่นบ้าง
    • ต่างจิตต่างใจ

    คำบ้างและต่างด้านบนนี้ เป็นคำวิเศษณ์ขยายคำนามและคำกริยา
  3. ปฤจฉาสรรพนาม กับอนิยมสรรพนาม ปฤจฉาสรรพนามทำให้ประโยคมีเนื้อความเป็นคำถามที่ต้องการคำตอบ ส่วนอนิยมสรรพนามไม่ทำให้ประโยคเป็นประโยคคำถาม เช่น
    • ใครไม่ทำเลขข้อนี้ (ใคร เป็นคำถามต้องการคำตอบ)
    • ใครไม่ทำเลขข้อนี้ก็ได้ (ใคร เป็นความบอกเล่าที่ไม่ชี้เฉพาะเจาะจง ไม่ต้องการคำตอบ)

 

คำสรรพนามทำหน้าที่ได้หลายประการดังต่อไปนี้
  1. เป็นประธาน เช่น
    - เธอรู้สึกไม่สบายมากวันนี้
    - ฉันจะไปเที่ยวเชียงใหม่
  2. เป็นกรรม เช่น
    - เธอชอบอะไร
    - อย่าไปโทษเธอเลย
  3. ใช้เรียกขาน เช่น
    - ท่านคะ ใครมา
  4. เป็นส่วนเติมเต็ม เช่น
    - เด็กคนนี้เหมือนเธอมาก
    - ช่างเครื่องยนต์ที่เชี่ยวชาญที่สุดคือเขา
  5. คำสรรพนามบางคำใช้แสดงความรู้สึกของผู้พูดหรือบอกฐานะของบุคคลที่กล่าวถึง เช่น
    - อาจารย์ท่านสอนเก่งมาก
    - ตาทองแกทำไร่
  6. นิยมสรรพนามใช้ชี้ระยะ เช่น
    - นี่ใกล้กว่านั้นและโน่นไกลที่สุด
  7. อนิยมสรรพนามใช้บอกความไม่เจาะจง หรือแสดงความสงสัย เช่น
    - ฉันไม่เห็นอะไรอยู่ในตู้
  8. ประพันธสรรพนามใช้เชื่อมประโยค เช่น
    - ฉันรักคนไทยที่รักชาติไทย